ประเภทของชีส This type of cheese

cheese2

ปัจจุบันนี้ “ชีส” มีความสำคัญมาก ในวงการอาหาร และเริ่มมีบทบาทในวงการอาหารไทยด้วยเช่นกัน เพราะด้วยรสชาติของมัน ทั้งเค็มๆมันๆรสเข้มข้นติดปากขนาดนี้ มีหรือที่ไทยเราจะพลาด ไม่ว่าจะนำมาใส่ในสลัด, ใส่ในขนมปัง, หรือแม้กระทั้งบะหมี่สำเร็จรูปก็มีรสชีสแล้วนะ เรามาดูที่มากันเลยดีกว่าครับ

“ชีส” เกิดขึ้นได้ยังไง? 

ชีส หรือ เนยแข็ง คือผลิตภัณฑ์ประเภทนม โดยนำเอาส่วนของโปรตีน (ไม่ใช่ส่วนของไขมัน) มาใช้ประโยชน์ ซึ่งความอร่อยของชีสอยู่ที่ความหอม มัน เข้มข้น ความเข้มข้นที่ว่านั้นมาจากการแยกโปรตีนออกจากนม โดยการเติมเอนไซม์เรนนินซึ่งทำให้โปรตีนที่แขวนลอยอยู่ในนมจับตัวกันเป็น ก้อน หรือเรียกว่า “เคิร์ด” และเจ้าเคิร์ดนี้ก็ คือชีสนั่นเอง แต่เป็นชีสสดที่ยังไม่ได้ผ่านการบ่มหรือที่เรียกว่า เฟรชชีส นั่นเอง และถ้านำไปผ่านการบ่มกับเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อรา เติมเครื่องเทศ แต่งรส ก็จะทำให้ได้ชีสที่หลากหลายชนิดขึ้น

“ชีส” มีกี่ประเภท?

มากกว่า 3,000 ชนิด โดยมีวิธีการแบ่งประเภทแตกต่างกันไป เช่น อาจแบ่งตามชนิด ของนม แบ่งตามวิธีการบ่ม ความชื้น ระยะเวลาในการบ่ม หรือแม้แต่ประเทศที่ผลิต แต่ชีสที่มีวางขายทั่วไปในซูเปอร์มาร์เก็ตทั่วไปในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้

1. Very Hard Cheese

ชีสที่มีเปลือกหนาเนื้อแข็ง ใช้ระยะเวลาในการบ่มนาน จนแทบไม่เหลือความชื้นอยู่ในชีสเลย

ชนิดที่รู้จักกันทั่วไปคือ Parmigiano, Reggiano, Parmesan เป็นต้น เหมาะกับการนำไปประกอบอาหาร โดยนิยมใส่ในพาสต้า ริซอตโต้ พิซซ่า 

55.jpg

2. Hard Cheese

ชีสที่เป็นที่นิยมในบ้านเรา เป็นชีสชนิดแข็งที่ยังพอมีความชื้นอยู่บ้าง เช่น Cheddar, Gruy re, Gouda, Emmental, Edam เป็นต้น เหมาะกับการนำไปทำเป็น ฟองดูชีส เป็นเมนูอาหารที่มี ชีส เป็นตัวเอกของเมนูเลยล่ะ

44.jpg

3. Semi-Soft Cheese

ชีสเนื้อนุ่ม เช่น Mozzarella, Brie, Camembert, Blue Cheese, Feta เป็นต้น ด้วยความยืด เหนียวนุ่ม จึงนิยมนำมาใช้เป็นหน้าอาหารประเภทต่างๆ เช่น พิซซ่า หรือ ทานคู่กับสลัดมะเขือเทศเป็นต้น

23.jpg

4. Soft Cheese

ชีสที่มีความชื้นอยู่สูง เช่น Cottage, Ricotta และ Mascarpone เป็นต้น นิยมนำไปทำเป็นส่วนประกอบของเมนูขนมหวานต่างๆ เช่น ชีสเค้ก, พาย, ทาร์ต, บราวนี่ หรือพุดดิ้ง
87.jpg